บ่อยครั้งที่หลายคนก็ปวดหัวกันแบบไม่ทราบสาเหตุ แต่แน่นอนว่าเมื่อมีอาการเกิดขึ้นย่อมต้องเป็นเรื่องที่ไม่ดีต่อสุขภาพและร่างกายของเราอยู่แล้ว โดยอาการปวดหัวดังกล่าวก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน ความเครียด เรื่องของอาการ หรือการพักผ่อน อีกทั้งอาการปวดหัวก็ยังแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท มีตรวจหาและการรักษาที่แตกต่างกันไป วันนี้เราก็มีอาการปวดหัวที่พบกันได้บ่อยมาพูดถึงกัน เพื่อให้ได้รู้กันไปชัดๆ ว่าปวดหัวแต่ละแบบบอกอะไรเราได้บ้าง
ปวดหัวไมเกรน
อาการปวดหัวไมเกรนนี้จะพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการมาของรอบเดือน และปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ อาทิ เสียงดัง แสงสว่างที่จ้าเกินไป โดยลักษณะของการปวดนั้นจะปวดแบบข้างเดียวตุบๆ ประกอบกับมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย ซึ่งการปวดนี้จะปวดนานประมาณ 4 – 72 ชั่วโมง วิธีแก้ที่ดีที่สุด คือ การใช้ยาพาราเซตามอล หรือยาแก้อักเสบที่ไม่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ หากกินยาแล้ว อาการปวดที่มียังไม่ลง ก็ควรเดินทางไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจต่อไป
ปวดหัวจากความเครียด
อาการปวดที่พบบ่อยๆ คือ การปวดแบบบีบ กด หรือปวดแบบรัดแน่นทั้ง 2 ข้าง วิธีแก้ก็คือ กินยาแก้ปวดธรรมดา อาทิ ยาพาราเซตามอล หรือยาแก้อักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน แต่หากอาการปวดเกิดขึ้นติดต่อกันนานกว่า 15 วันต่อเดือน ลากยาวไป 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ก็แนะนำว่าให้เดินทางไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
ปวดหัวจากไซนัสอักเสบ
ปวดการปวดหัวร่วมกับอาการของไซนัส โดยอาจปวดที่บริเวณโหนกแก้มและหน้าผาก หากเกิดการปวดในลักษณะนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาไซนัสอักเสบที่เป็นต้นเหตุ และอาจใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวด
ปวดหัวแบบคลัสเตอร์
การปวดหัวในลักษณะนี้เป็นอาการปวดแบบเป็นชุดๆ ซึ่งมักจะปวดรุนแรงในเวลาเดิมของทุกๆ วัน โดยมีอาการปวดบริเวณเบ้าตาร่วมด้วย ทั้งยังอาจมีอาการตาแดง หรือน้ำตาไหล แนะนำให้ไปปรึกษาเพื่อเข้ารับการรักษา
ปวดหัวจากฮอร์โมน
ส่วนใหญ่อาการปวดแบบนี้จะเกิดขึ้นในผู้หญิง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง อาทิ เมื่อตั้งครรภ์ ช่วงที่กินยาคุมกำเนิด หรือช่วงวัยทอง วิธีแก้คือ ใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และอาจไปปรึกษาแพทย์เพื่อคำแนะนำในการดูแลตัวเอง ร่วมถึงการใช้ยาเพื่อป้องอาการที่จะเกิดขึ้นด้วย